ประวัติ

ตราประจำมหาวิทยาลัย
 
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ดอกพิกุล ลูกจันทร์
 
สีประจำมหาวิทยาลัย
สีขาว สีเหลือง

 

   มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มีจุดกำเนิดครั้งแรกจากการตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีอาชีวศึกษา ในสังกัดกรมอาชีวศึกษา เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2491
 
   พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนาม “สถาบันราชภัฏ” แทนวิทยาลัยครู เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 และประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏเมื่อ พ.ศ.2538 ยกฐานะวิทยาลัยครูทุกแห่งเป็นสถานบันราชภัฏ ดังนั้นวิทยาลัยครูธนบุรี จึงเป็นสถาบันราชภัฏธนบุรี ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษา และสาขาวิชาการอื่นๆ ทั้งระดับปริญญาตรี และสูงกว่าระดับปริญญาตรี
   สถาบันราชภัฏธนบุรีเปิดสอนตามหลักสูตรสถาบันราชภัฏ 4 สาขาวิชาคือ
   สาขาวิชาการศึกษา
   สาขาวิชาศิลปะศาสตร์
   สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
   สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
ตั้งแต่ระดับอนุปริญญา จนถึงระดับปริญญาตรี หลายโปรแกรมวิชา มีบทบาท และความรับผิดชอบในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ปฏิบัติภารกิจต่างๆ โดยมุ่งพัฒนาด้านวิชาการ ความรู้ ความสามารถ คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างสมบูรณ์
 
   พ.ศ.2547 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงลงนามพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พ.ศ.2547 เป็นผลทำให้สถาบันราชภัฏทุกแห่งเปลี่ยนสถานภาพเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล สถาบันราชภัฏธนบุรีจึงเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2547
 
   มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ได้จัดตั้งโครงการบัณฑิตศึกษาขึ้นในปี พ.ศ.2538 เพื่อรองรับภาระงานด้านบัณฑิตศึกษาของสถาบันตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.2538 ที่กำหนดงานด้านบัณฑิตศึกษาไว้ว่า “ให้สถาบันราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษา” เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาวิชาการและวิชาชีพระดับสูง ทำการวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริม วิทยฐานะครู (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 4ก หน้าที่ 2, 24 มกราคม 2538)
 
   โครงการบัณฑิตศึกษาได้ประสานงานกับคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 โดยเปิดสอน 4 หลักสูตรได้แก่
   หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
   หลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต
   - สาขาการบริหารการศึกษา
   หลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต
   - สาขาไทยศึกษา
   - สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา
 
   รวมทั้งบางปีการศึกษาได้เพิ่มการเปิดสอนหลักสูตรอื่นๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น เช่น ปีการศึกษา 2545 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตการจัดการและประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2546 ได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต และเปิดสอนต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน